กลยุทธ์ด้านจัดการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคน

 

เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2566 เวลา 13.00 – 16.00 น. ฝ่ายวิชาการและการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยทักษิณ จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ทางเลือก และทางรอด โดยใช้ 7 STEP MODEL ในการออกแบบหลักสูตร NON-DEGREE ตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม

ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประกอบด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชวนพิศ ชุมคง ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการและการเรียนรู้ และบุคลากรของคณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพมาศ ปักเข็ม คณบดี อาจารย์อาจารี นาโค รองคณบดีฝ่ายวิชาการและดิจิทัลองค์กร นางพรสววรค์ คงหนู เจ้าหน้าที่บริหารงาน รวมไปถึง คุณวรรณภพ กล่อมเกลี้ยง รองประธานเจ้าหน้าที่ บริหารสำนักเคเอกซ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และบุคลากรจากบริษัท เจเนเรชั่น ยู เอมพลอยด์เอ็ด (ประเทศไทย) จำกัด เข้าร่วมสังเกตการณ์และให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านการออกแบบหลักสูตร

ประเด็นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้จะเป็นการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจาก การเข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ GenNX Caplab ออกแบบหลักสูตรตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม โดยเน้นไปที่หลักสูตร non-degree ในระหว่างวันที่ 13-15 ธ.ค. 2566 ณ ชั้น 17 ลาน X-cite space อาคาร KX Knowledge Exchange (KX) รวมไปแนวทางการปรับปรุงการออกแบบหลักสูตร NON-DEGREE ของคณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล และแนวทางการพัฒนาหลักสูตรของมหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม