สาขาวิชาชีววิทยา  คณะวิทยาศาสตร์  ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2511 โดยสังกัดวิทยาลัยวิชาการศึกษา กรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ  ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 เป็นสาขาวิชาสังกัดคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตสงขลา ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตทางการสอน (กศ.บ.) ร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์ ปี พ.ศ. 2533 เปลี่ยนเป็นสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒสงขลา วิทยาเขตภาคใต้ และในปี พ.ศ. 2539 เปลี่ยนเป็นสาขาวิชาชีววิทยา สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

 

สาขาวิชาชีววิทยาได้เปิดสอนหลักสูตรต่างๆ ดังนี้

                    ปีการศึกษา 2520 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา

                    ปีการศึกษา 2543 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา

                    ปีการศึกษา 2544 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

                    ปีการศึกษา 2546 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

ปัจจุบันเปิดสอน 5 หลักสูตร ได้แก่

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยา

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

หลักสูตรวิทยาศาสตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ         

(คู่มือหลักสูตร 2556-ปัจจุบัน http://www2.tsu.ac.th/tsudoc/manual/)

 นอกจากนี้สาขาวิชาชีววิทยายังรับผิดชอบสอนในรายวิชาพื้นฐานทางชีววิทยาให้แก่นิสิตทั้งมหาวิทยาลัย ปีละไม่ต่ำกว่า 1,000 คน 

ในส่วนงานบริการวิชาการ สาขาวิชาชีววิทยาได้ให้บริการต่อหน่วยงานและชุมชนอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการโอลิมปิกวิชาการ ศูนย์ สอวน. วิชาชีววิทยา (ปีการศึกษา 2562 เป็นรุ่นที่ 20: https://www.posn.sci.tsu.ac.th/)

วิสัยทัศน์และพันธกิจ

      สาขาวิชาชีววิทยา มีหน้าที่จัดการศึกษา วิจัย บริการวิชาการแก่สังคมและทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม โดยมีประธานวิชาชีววิทยา เป็นผู้กำกับดูแลและรับผิดชอบการจัดการศึกษา การวิจัยและบริการวิชาการแก่สังคมในสาขาชีววิทยา ชีววิทยาศึกษา วิทยาศาสตร์ศึกษา นิเวศวิทยา ความหลากหลายทางชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพ วิสัยทัศน์ของสาขาวิชาชีววิทยาคือเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และพัฒนากำลังคนด้านชีววิทยาที่มีคุณภาพในระดับมาตรฐานสากล โดยมีพันธกิจมุ่งผลิตบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพให้มีความรับผิดชอบ มีความรู้ทางด้านวิชาการ ทักษะอาชีพ สามารถประยุกต์ความรู้ในการดำรงชีวิตและพัฒนาสังคม