หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาชีววิทยา
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561
ปรัชญา เชี่ยวชาญชีววิทยา พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม มีคุณธรรม จริยธรรม นำความก้าวหน้าสู่สังคม
จุดเด่นของหลักสูตร
- เรียนจบได้ภายใน 2 ปี(ตามแผนการศึกษา)
- หลักสูตรฯ มีคณาจารย์ที่มีประสบการณ์สูง ที่พร้อมเป็นที่ปรึกษาสำหรับครู อาจารย์ที่ต้องการเรียนเพิ่มเติม เพื่อเน้นทำงานวิจัยเกี่ยวกับโครงงานชีววิทยา
- หลักสูตรฯ ได้จัดวิชาเลือกไว้เป็นหมวดเฉพาะทาง จึงสามารถเลือกหมวดวิชาทำวิทยานิพนธ์ได้ตรงสาขาที่ถนัด เช่น เน้นทางพฤกษศาสตร์ สัตววิทยา พันธุศาสตร์ หรือ จุลชีววิทยา
- การเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ ของหลักสูตรฯสามารถนำไปบูรณาการสู่ภาคอุตสาหกรรม และวิจัยเพื่อชุมชนได้จริง
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร
ข่าวการรับสมัครเรียน https://mis.sci.tsu.ac.th/sciservice/tcas62/
คู่มือการศึกษา http://www2.tsu.ac.th/tsudoc/manual/
หลักสูตรและแผนการศึกษา http://grad.tsu.ac.th/manualonline
บัณฑิตวิทยาลัย http://grad.tsu.ac.th/
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ
วิทยาเขต/คณะ/สาขาวิชา วิทยาเขตพัทลุง คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาชีววิทยา
หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
- รหัสและชื่อหลักสูตร
รหัสหลักสูตร |
: 25480221106858 |
ภาษาไทย |
: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา |
ภาษาอังกฤษ |
: Master of Science Program in Biology |
- ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ไทย) ชื่อย่อ (ไทย) ชื่อเต็ม (อังกฤษ) ชื่อย่อ (อังกฤษ) |
: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ชีววิทยา) : วท.ม. (ชีววิทยา) : Master of Science (Biology) : M.Sc (Biology) |
- วิชาเอก
ไม่มี
- จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร
หลักสูตรปริญญาโท
แผน ก แบบ ก1 ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก2 ไม่น้อยกว่า 38 หน่วยกิต
- รูปแบบของหลักสูตร
5.1 รูปแบบ
หลักสูตรปริญญาโท 2 ปี
5.2 ภาษาที่ใช้
หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทย และ/หรือภาษาอังกฤษ
5.3 การรับเข้าศึกษา
รับผู้ที่สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์ ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
เป็นหลักสูตรของสถาบันโดยเฉพาะ
5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
แผน ก แบบ ก1
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่าที่มหาวิทยาลัยทักษิณรับรอง และได้รับเกียรตินิยมอันดับ 1 ในสาขาวิชาชีววิทยาหรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง โดยพิจารณารายละเอียดต่อไปนี้ประกอบ(ก) ผลงานวิจัยที่เผยแพร่ (ข) รางวัล ผลงานอื่น และกิจกรรมที่เคยทำมาที่เกี่ยวข้อง และ (ค) ผลการศึกษารายวิชาต่างๆ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามความเห็นชอบของคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร และ
- เป็นผู้มีประสบการณ์การทำงาน หรือการวิจัย ตามความเห็นชอบของคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร
แผน ก แบบ ก2
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่าที่มหาวิทยาลัยทักษิณรับรอง ในสาขาวิชาชีววิทยาหรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยอาจพิจารณาผู้ที่มีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามเกณฑ์นี้เข้าศึกษาเป็นรายกรณี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยทักษิณ ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559 หมวดที่ 4 ข้อ 17 ข้อ 18 และข้อ 19
อาชีพที่สามารถประกอบอาชีพได้หลังสำเร็จการศึกษา
- นักวิทยาศาสตร์ หรือนักวิจัยด้านชีววิทยาในสถาบันวิจัยและสถานประกอบการ ทั้งในภาครัฐและเอกชนหลากหลายสายงาน เช่น การแพทย์ อุตสาหกรรม เป็นต้น
- อาจารย์ หรือนักวิชาการ หรือบุคลากรทางการศึกษา ทั้งในสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐและเอกชนในหลากหลายระดับการศึกษา เช่น มหาวิทยาลัย วิทยาลัย เป็นต้น
- นักวิชาการในหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน เช่น กระทรวงวิทยาศาสตร์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ เป็นต้น
- นักวิชาการอิสระหรืออาชีพอิสระ
ทุนการศึกษา
- ทุนสนับสนุนการทำวิจัยสำหรับนิสิตทุกคนในหลักสูตรตลอดระยะเวลาการศึกษา
- ทุนวิจัยจากบัณฑิตวิทยาลัย
- ทุนสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์
- ทุนผู้ช่วยวิจัยจากอาจารย์ที่ปรึกษา เช่น ทุนพวอ., วช., และ สกว. เป็นต้น
- ทุนผู้ช่วยสอน
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. มีคุณธรรมและจริยธรรม มีการแสดงออกถึงความมีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม
2. มีความเป็นผู้นำและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ เคารพสิทธิและความคิดเห็นของผู้อื่น มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น
3. มีทักษะการใช้ภาษา การนำเสนอผลงานทางวิชาการต่อสารธารณะได้อย่างถูกต้อง และสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรวบรวม สืบค้น และนำเสนอข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและทฤษฏีที่สำคัญในสาขาวิชาชีววิทยา สามารถวางแผนงานวิจัยได้ และวิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้ได้อย่างถูกต้อง
5. มีความรู้ความเข้าใจกระบวนการวิจัย และประยุกต์ใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์ผลงานวิจัยได้อย่างอย่างเป็นระบบและเหมาะสม
6. ติดตามความรู้ ความก้าวหน้าทางวิชาการที่ทันสมัย และประยุกต์ใช้ได้