หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต และดุษฏีบัณฑิต
สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561
ปรัชญา พัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม
ความสำคัญของหลักสูตร
เทคโนโลยีชีวภาพเป็นสาขาวิชาที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาทั้งในระดับประเทศและสากล เนื่องด้วยเป็นวิชาที่มุ่งเน้นไปในการนำความรู้ด้านเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนา ปรับปรุง สิ่งมีชีวิต และผลผลิตที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้นในประเทศไทยซึ่งมีทรัพยากรธรรมชาติ และ ความหลากหลายทางชีวภาพในระดับสูงจึงมีความต้องการด้านทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเพื่อ บริหารจัดการและนำทรัพยากรเหล่านี้มาใช้อย่างถูกวิธี และให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยบุคลากรที่ผลิตขึ้นใน สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพจะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนางานในด้านต่าง ๆ อาทิ อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การวิจัยและพัฒนา การควบคุมคุณภาพ เป็นต้น
วัตถุประสงค์หลักสูตร
เพื่อผลิตมหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ที่มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณลักษณะ ดังนี้
- มีศักยภาพในการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพจากภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล
- สามารถนำความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชีวภาพไปใช้ส่งเสริม พัฒนาสังคมเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม และความเป็นอยู่ของประชากรในประเทศ
- มีความรอบรู้ความเข้าใจในทฤษฎีอย่างลึกซึ้ง และความสามารถในการ ทำวิจัยขั้นสูงเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และประยุกต์ใช้เทคนิคการวิจัยระดับสูง ทางด้าน เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศเพื่อการพัฒนา ที่ยั่งยืน
- มีทักษะการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- อาจารย์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ เอกชน และในต่างประเทศ
- นักวิชาการ นักวิจัย นักพัฒนา นักวางแผน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและพัฒนาการด้านสิ่งแวดล้อม พลังงาน ด้านเกษตร ด้านอาหาร ด้านพืช และสัตว์
ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ - ผู้ประกอบการ/เจ้าของธุรกิจ/ที่ปรึกษาผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร
ข่าวการรับสมัครเรียน https://mis.sci.tsu.ac.th/sciservice/tcas62/
คู่มือการศึกษา http://www2.tsu.ac.th/tsudoc/manual/
หลักสูตรและแผนการศึกษา http://grad.tsu.ac.th/manualonline
บัณฑิตวิทยาลัย http://grad.tsu.ac.th/
หลักสูตรพหุวิทยาการ
หลักสูตรมหาบัณฑิต และปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา วิทยาเขตพัทลุง คณะวิทยาศาสตร์ และคณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน
- รหัสและชื่อหลักสูตร
รหัสหลักสูตร |
: 25540223203181 |
ภาษาไทย |
: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ |
ภาษาอังกฤษ |
: Master of Science Program in Biotechnology |
รหัสหลักสูตร |
: 25540223203181 |
ภาษาไทย |
: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ |
ภาษาอังกฤษ |
: Doctor of Philosophy Program in Biotechnology |
- ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ไทย) |
: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีชีวภาพ) |
ชื่อย่อ (ไทย) |
: วท.ม. (เทคโนโลยีชีวภาพ) |
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) |
: Master of Science (Biotechnology) |
ชื่อย่อ (อังกฤษ) |
: M.Sc. (Biotechnology) |
ชื่อเต็ม (ไทย) |
: ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต (เทคโนโลยีชีวภาพ) |
ชื่อย่อ (ไทย) |
: ปร.ด. (เทคโนโลยีชีวภาพ) |
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) |
: Doctor of Philosophy (Biotechnology) |
ชื่อย่อ (อังกฤษ) |
: Ph.D. (Biotechnology) |
- 3. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
3.1 แบบ 1.1 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต
3.2 แบบ 2.1 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต
3.3 แบบ 2.2 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 72 หน่วยกิต
- 4. รูปแบบของหลักสูตร
4.1 รูปแบบ
หลักสูตรพหุวิทยาการ หลักสูตร 3 ปี สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท และเป็นหลักสูตร 4 ปี สำหรับผู้สำเร็จปริญญาตรี แบ่งการศึกษาเป็น 2 แบบ โดยเน้นการวิจัยเพื่อพัฒนาวิชาการระดับสูง
แบบ 1 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยมีการทำดุษฎีนิพนธ์ที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ผู้เรียนต้องทำกิจกรรมทางวิชาการอื่นเพิ่มเติมตามที่คณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตรกำหนด และต้องมีผลสัมฤทธิ์ตามข้อบังคับ ว่าด้วย การจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัย ดังนี้
แบบ 1.1 ผู้เรียนที่สำเร็จปริญญาโท จะต้องทำดุษฎีนิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
แบบ 2 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยมีการทำดุษฎีนิพนธ์ที่มีคุณภาพสูงและก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ และต้องศึกษารายวิชาเพิ่มเติม ดังนี้
แบบ 2.1 ผู้เรียนที่สำเร็จปริญญาโท จะต้องทำดุษฎีนิพนธ์ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต และศึกษารายวิชาอีกไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
แบบ 2.2 ผู้เรียนที่สำเร็จปริญญาตรี จะต้องทำดุษฎีนิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต และศึกษารายวิชาอีกไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
- ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร
ชีววิทยา จุลชีววิทยา วิศวกรรม เคมี วิทยาการคอมพิวเตอร์ พันธุวิศวกรรม ชีวเคมี วิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ชีวสารสนเทศ พันธุศาสตร์ ชีววิทยาโมเลกุล อุตสาหกรรมเกษตร