ประวัติโครงการ

1. ประวัติโครงการ วมว.-ม.ทักษิณ

        วมว. เป็นโครงการที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจัดทำขึ้นเพื่อเร่งส่งเสริมให้มีการจัดการศึกษาที่รองรับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในการพัฒนาเป็นนักวิจัยอาชีพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีศักยภาพให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและเป็นกำลังสำคัญของประเทศต่อไปในอนาคต กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจด้านการพัฒนากำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ได้เล็งเห็นความจำเป็นของการสร้างฐานกำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศซึ่งในปัจจุบันยังดำเนินการได้ในปริมาณที่น้อยมาก จึงจำเป็นต้องเร่งส่งเสริมให้มีการจัดการศึกษาที่เฉพาะเจาะจง เพื่อรองรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยเริ่มตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยคัดสรรผู้เรียนที่มีศักยภาพสูง เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการพัฒนาอย่างถูกทางและเหมาะสม ส่งเสริมให้อัจฉริยภาพที่มีอยู่เบ่งบานอย่างเต็มที่และได้รับการพัฒนาเป็นนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีคุณภาพอันจะเป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต

 

โครงการ วมว. ระยะที่ 2
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ดำเนินโครงการ วมว.ในระยะแรกปี พ.ศ. 2551 – 2555 เพื่อเป็นกลไกสนับสนุนการพัฒนาฐานกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยรองรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อบ่มเพาะการพัฒนาเป็นนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักเทคโนโลยีอย่างถูกทางและเหมาะสม ส่งเสริมให้อัจฉริยภาพที่มีอยู่เบ่งบานอย่างเต็มที่และได้รับการพัฒนาเป็นนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีคุณภาพอันจะเป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต ต่อมาคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2555 ได้มีมติเห็นชอบให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ดำเนินโครงการ วมว. ระยะที่ 2 ระยะเวลา 10 ปี (พ.ศ. 2556 – 2565)

2. วัตถุประสงค์/ผลที่คาดว่าจะได้รับ

วัตถุประสงค์
        1. สนับสนุนการสร้างฐานกำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีศักยภาพตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยร่วมมือกับโรงเรียนและมหาวิทยาลัย
        2. สนับสนุนการจัดการศึกษาสำหรับผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และขยายฐานการศึกษาออกไปในวงกว้าง
        3. สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
        1. นักเรียนใหม่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ได้รับการส่งเสริมอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างถูกทางและเหมาะสม เพื่อเป็นฐานกำลังคนที่จะพัฒนาไปเป็นนักวิจัยในอนาคต
        2. ขยายฐานการศึกษาสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีออกไปในวงกว้าง และนำไปสู่ระบบการผลิตกำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีความเข้มแข็ง
        3. เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการส่งเสริมการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษฯ ระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียน และมหาวิทยาลัย

3. วิสัยทัศน์/พันธกิจ/จุดเน้น

วิสัยทัศน์
        มุ่งสู่การเป็นห้องเรียนวิทยาศาสตร์ระดับสากล เน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ และทักษะ ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม

พันธกิจ
        1. จัดการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อขยายฐานกำลังคนทางด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย เทคโนโลยี และเป็นนวัตกรที่มีศักยภาพสูง
        2. ส่งเสริมการสร้างงานวิจัยที่เน้นนวัตกรรมสังคม เพิ่มเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัย และด้านการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ
        3. ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีงามพร้อมทั้งส่งเสริมให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์และทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ให้แก่ผู้เรียน
     
อัตลักษณ์นักเรียนโครงการ วมว. – ม.ทักษิณ
        1. มีคุณธรรม จริยธรรมในการดำรงชีวิต
        2. มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต
        3. มีทักษะในศตวรรษที่ 21 เช่น ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะสารสนเทศ สื่อเทคโนโลยี และทักษะชีวิตและอาชีพ
        4. มีจิตสำนึกสาธารณะ
        5. มีความภูมิใจในการเป็นนักเรียน วมว. – ม.ทักษิณ

จุดเน้น
        จุดเน้นทางวิชาการ (Academic Focus) ของโครงการ วมว. – ม.ทักษิณ คือ นวัตกรรมชุมชน (การใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพิ่มคุณค่าภูมิปัญญาท้องถิ่น) ซึ่งมีผลงานการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพิ่มคุณค่าภูมิปัญญาท้องถิ่น

4. โครงสร้างการบริหาร

4.1 ประวัติผู้บริหารโครงการ
4.2 คณะผู้บริหารโครงการ

5. ฝ่ายวิชาการ

5.1 งานหลักสูตลักษณะหลักสูตร
หลักสูตรห้องเรียนวิทยาศาสตร์โครงการ วมว. มีลักษณะเป็นโรงเรียนประจำที่มีครูพี่เลี้ยงดูแลใกล้ชิด โดยมหาวิทยาลัยเป็นตัวหลักในการจัดการเรียนการสอน สนับสนุนบุคลากรผู้สอน รวมทั้งเป็นพี่เลี้ยงให้ทั้งครูและนักเรียน และสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยมีวิธีการสอนที่เป็นรูปแบบเฉพาะของแต่ละมหาวิทยาลัยที่จะหล่อหลอมให้นักเรียนมีความคิดแบบวิทยาศาสตร์ และมุ่งสู่ความเป็นสากล นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรนอกห้องเรียนซึ่งเน้นส่งเสริมการพัฒนาอัจฉริยภาพของนักเรียนรอบด้าน โดยจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้มีความหลากหลายทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน ได้แก่ การศึกษาดูงานนอกสถานที่ การเข้าค่ายวิชาการ การเข้าค่ายปฏิบัติธรรม การฟังบรรยายพิเศษโดยผู้ทรงคุณวุฒิ กิจกรรมชุมนุม กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อให้นักเรียนรู้จักเสียสละต่อส่วนรวม และรู้จักใช้ความสามารถของตนที่มีอยู่ทำประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม
5.2 งานจัดการเรียนรู้
5.3 ฝ่ายโครงงาน
5.4 งานแนะแนว
5.5 งานทะเบียนและวัดผล
5.6 งานวิจัยในชั้นเรียน
5.7 ประเมินออนไลน์

6. กลุ่มสาระการเรียนรู้

- ภาษาไทย
- คณิตศาสตร์
-วิทยาศาสตร์
-สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
-สุขศึกษาและพลศึกษา
-ศิลปะ
-การงานอาชีพและเทคโนโลยี
-ภาษาต่างประเทศ