คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ขอแสดงความยินกับคณาจารย์ที่ได้รับการพิจารณาจัดสรรทุนอุดหนุนการวิจัยและนวัตกรรม โครงการวิจัยทุนมูลฐาน (Fundamental Fund) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
อ่าน : 342
: 3 ปีที่แล้ว
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ขอแสดงความยินกับคณาจารย์ที่ได้รับการพิจารณาจัดสรรทุนอุดหนุนการวิจัยและนวัตกรรม โครงการวิจัยทุนมูลฐาน (Fundamental Fund) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
แผนงานนวัตกรรมเกษตรและอาหาร
1. นวัตกรรมการพัฒนาซินไบโอติกที่มีศักยภาพ ระหว่างโพรไบโอติก สารกระตุ้นภูมิคุ้มกันและ ไมโครคริสตัลไลน์ เซลลูโลส ที่ดัดแปลงจากนาโนเซลลูโลสของแบคทีเรีย
ผศ.ดร.มณฑล เลิศวรปรีชา สาขาวิชาชีววิทยา
2. นวัตกรรมอิมมูโนไบโอติกจากเอ็กโซพอลิแซ็กคาไรด์ที่ผลิตโดยแบคทีเรียโพรไบโอติกสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อ.ดร.วันกุศล ชนะสิทธิ์ สาขาวิชาชีววิทยา
3. เห็ดป่าในป่าสาคูจังหวัดพัทลุงสู่การนำไปใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาต่อยอดทางอุตสาหกรรมเกษตร
อ.ดร.ภูมิน นุตรทัต สาขาวิชาชีววิทยา
4. กล้าเชื้อเริ่มต้นแบคทีเรียโพรไบโอติกและยีสต์ชนิดผงสำเร็จรูปสำหรับการหมักปลาส้มและแหนมเห็ดแบบรวดเร็ว
ผศ.ดร.ศุภชัย นิติพันธ์ สาขาวิชาชีววิทยา
5. ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของการใช้ประโยชน์จากกุ้งเคยในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนฝั่งตะวันออกของประเทศไทย
ผศ.ดร.เตือนตา ร่าหมาน สาขาวิชาชีววิทยา
แผนงานพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก
6. การผลิตกระแสไฟฟ้าร่วมกับการบำบัดน้ำทิ้งอุตสาหกรรมสิ่งทอและการผลิตพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอต และการปรับปรุงสายพันธุ์จุลินทรีย์ด้วยรังสียูวี
รศ.ดร.กนกพร สังขรักษ์ สาขาวิชาเคมี
7. วัสดุนาโนไฮบริดอัจฉริยะที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อกำจัดโลหะหนักและสีย้อมในน้ำ โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์
ผศ.ดร.ศรชัย อินทะไชย สาขาวิชาเคมี
8. การเพิ่มประสิทธิผลการผลิตเชื้อเพลิงไบโอดีเซลจากสารตั้งต้นที่มีค่าความเป็นกรดสูง โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาอนุภาคนาโนที่เป็นกรดและเบส
ผศ.ดร.ศรชัย อินทะไชย สาขาวิชาเคมี
9. การพัฒนาวัสดุดูดซับจากเศษเหลือทิ้งจากภาคอุตสาหกรรม เพื่อกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ในก๊าซชีวภาพ
ผศ.ดร.นิรมล จันทรชาติ สาขาวิชาเคมี
10. การพัฒนาขั้วแอร์แคโทด (Air cathode) เพื่อใช้ในเครื่องต้นแบบเซลล์เชื้อเพลิงอัลคาไลน์แบบไม่มีเยื่อเลือกผ่าน
ผศ.ดร.จักรพงศ์ ไชยบุรี สาขาวิชาเคมี
11. พัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยา Perovskite สำหรับขั้วแอร์แคโทดในการเพิ่มประสิทธิภาพของเซลล์เชื้อเพลิงอัลคาไลน์จากสุราชุมชน
ผศ.ดร.ชลธิรา แสงสุบัน สาขาวิชาฟิสิกส์
12. การผลิตถ่านกัมมันต์จากวัสดุชีวมวลและการประยุกต์ใช้เป็นขั้วไฟฟ้าสำหรับกักเก็บพลังงานทางไฟฟ้าเคมี
รศ.ดร.พนิตา ก้งซุ่น สาขาวิชาเคมี
แผนงานการจัดการระบบสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
13. การประดิษฐ์แผ่นยางป้องกันรังสีเอกซ์จากคอมโพสิตยางธรรมชาติ แบเรียมซัลเฟตและแคลเซียมคาร์บอเนต
อ.ดร.สุทธิษา ก้อนเรือง สาขาวิชาฟิสิกส์
14. ถุงรองรับสิ่งขับถ่ายจากยางพารา
อ.ดร.พนิตา สุมานะตระกูล สาขาวิชาเคมี
15. วิกฤตขยะอาหาร : พฤติกรรมการบริโภคและการจัดการขยะอาหารในครัวเรือนในช่วงการระบาดของ Covid-19 ในประเทศไทย
ผศ.ดร.พีรนาฏ คิดดี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและสิ่งแวดล้อม
แผนงานวิจัยและพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาสมุนไพรไทยพื้นถิ่น
16. การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของส่วนสกัดย่อยใบสตาร์แอปเปิ้ลที่มีสมบัติต้านออกซิเดชันเพิ่มการแบ่งตัวของเซลล์ ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสและเอนไซม์คอลลาจิเนส
อ.ดร.ปริชาติ เทพทอง สาขาวิชาเคมี
17. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไมโครแคปซูลที่ห่อหุ้มสารจากใบกระท่อม เพื่อนำไปใช้บำรุงสมองและรักษาโรคอัลไซเมอร์
ผศ.ดร.เนตรนภา ชะนะ สาขาวิชาเคมี
แผนงานการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าสินค้าเกษตรอัตลักษณ์ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
18. การพัฒนาเครื่องดื่มฟังก์ชั่นไซเดอร์น้ำผึ้งเพื่อดูแลสุขภาพจากน้ำผึ้งชันโรงด้วยเทคนิคการหมักร่วม
อ.ดร.พิมประภา ชัยจักร สาขาวิชาชีววิทยา
19. การพัฒนาปะการังเทียมถ่านไบโอชาร์แบบทุ่นลอยจากแกลบและฟางข้าวเพื่อดูดซับโลหะหนักบริเวณชายฝั่ง
อ.ดร.พิมประภา ชัยจักร สาขาวิชาชีววิทยา
20. นวัตกรรมแพลตฟอร์มดิจิทัลระบบฐานข้อมูลตรวจสอบการผลิตย้อนกลับเพื่อการบริโภคพืชอาหารปลอดภัยและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของส้มโอทับทิบสยามในเชิงพาณิชย์
ผศ.ดร.สิรยา สิทธิสาร สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ