คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ 

หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐

 

  ชื่อหลักสูตร
       วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
     Bachelor of Science Program in Computer Science

 
 
ชื่อปริญญา
       ชื่อเต็ม วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์)
                 Bachelor of Science (Computer Science)
       ชื่อย่อ วท.บ. (วิทยาการคอมพิวเตอร์)
                 B.Sc. (Computer Science)

 
 
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
        สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

 
 
ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
  4.1 ปรัชญา
      รอบรู้วิทยาการคอมพิวเตอร์คู่คุณธรรม คิดสร้างสรรค์ ก้าวทันยุคดิจิทัล
 

4.2 วัตถุประสงค์

เพื่อผลิตบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่มีคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบ มีความพร้อมในการทำงาน ภายใต้คุณลักษณะดังนี้

  1. มีความรู้ ความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ และมีทักษะในการออกแบบและพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. มีความสามารถในการนำวิธีการทางคณิตศาสตร์  หลักการทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. มีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น  สามารถสื่อสารและถ่ายทอดความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีจรรยาบรรณวิชาชีพ
  4. ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง และสามารถปรับตัวให้เข้ากับยุคดิจิทัล
  4.3 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Expected Learning Outcomes)
 

Specific ELOs

  • ELO1 สามารถอธิบายทฤษฎีพื้นฐานทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ได้
  • ELO2 สามารถวิเคราะห์ และแก้ปัญหาโดยใช้วิธีการทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ได้อย่างถูกต้อง
  • ELO3 สามารถใช้ทักษะ เทคนิคปัจจุบัน และเครื่องมือที่จำเป็นในการแก้ปัญหาทางคอมพิวเตอร์
  • ELO4 สามารถออกแบบระบบคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศที่ถูกต้องตามความต้องการ
  • ELO5 สามารถพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ และระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพอย่างสร้างสรรค์ จากการประยุกต์เครื่องมือและเทคโนโลยีสมัยใหม่

Generic ELOs

  • ELO6 มีจรรยาบรรณเชิงวิชาการ และวิชาชีพ ไม่คัดลอกงานผู้อื่น และมีการอ้างอิงแหล่งที่มา
  • ELO7 สามารถทำงานเป็นทีมและเป็นเครือข่าย มีความรับผิดชอบ ในการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย
  • ELO8 มีความใฝ่รู้ สามารถศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ปรับตัวเข้ากับแนวโน้มเทคโนโลยีในยุคดิจิทัล
  • ELO9 สามารถสื่อสารภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ในรูปแบบการพูดและการเขียน และสามารถถ่ายทอดความรู้ด้วยวิธีการและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
  • ELO10 สามารถประยุกต์วิธีการทางคณิตศาสตร์ ในการแก้ปัญหาทางด้านการคำนวณ

 

 

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา

 
  • นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
  • ผู้พัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนเว็บและโมบายแอปพลิเคชัน
  • ผู้พัฒนาโปรแกรมประยุกต์และระบบควบคุม
  • ผู้ดูแลระบบเครือข่าย  
  • นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล
  • ผู้ประกอบการอิสระทางคอมพิวเตอร์
  • ครู ผู้สอน อาจารย์ ในสถาบันการศึกษา

 

   

กำหนดการเปิดสอน

 

     หลักสูตรนี้ใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2560 เป็นต้นไป
     สกอ.รับทราบ 20 พฤษภาคม 2562

 

 .

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

 

     สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าที่มหาวิทยาลัยรับรอง   

     รับเข้า 50 คน/ปีการศึกษา

 
 
วิธีการคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
 

ระบบ TCAS ตามที่ ทปอ. กำหนด

  • TCAS 1 ยื่นเฟ้มสะสมงาน และโครงการผู้มีความสามารถพิเศษทางวิชาการ กีฬา คุณธรรม จริยธรรม
  • TCAS 2 โควต้าโรงเรียน 14 จังหวัดภาคใต้ พิจารณาจากการสัมภาษณ์
  • TCAS 3 รับตรงทั่วไป พิจารณาจากคะแนนสอบ และการสัมภาษณ์
  • TCAS 4 Admission
  • TCAS 5 รับตรงอิสระ 

 

 

 

โครงสร้างหลักสูตร

 

9.1  จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร   ไม่น้อยกว่า          132   หน่วยกิต

 

ก.  หมวดวิชาศึกษาทั่วไป   ไม่น้อยกว่า        30      หน่วยกิต

 

วิชาบังคับ 18  หน่วยกิต

 

กลุ่มการใช้ภาษา   9  หน่วยกิต

 

กลุ่มบูรณาการ  หน่วยกิต

 

วิชาเลือก 12 หน่วยกิต

 

กลุ่มวิชาบังคับเลือก    3  หน่วยกิต

 

กลุ่มวิชาเลือก             9 หน่วยกิต

  ข.  หมวดวิชาเฉพาะ    ไม่น้อยกว่า        96      หน่วยกิต
  วิชาแกน    23      หน่วยกิต
  วิชาแกนทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์  10     หน่วยกิต
  วิชาแกนทางคอมพิวเตอร์   13     หน่วยกิต
  วิชาเฉพาะด้าน      ไม่น้อยกว่า          73       หน่วยกิต
  วิชาบังคับ                                              45     หน่วยกิต
  วิชาเลือก                 ไม่น้อยกว่า              21     หน่วยกิต
  วิชาประสบการณ์เชิงปฏิบัติ   ไม่น้อยกว่า     7        หน่วยกิต
 

ค.  หมวดวิชาเลือกเสรี              ไม่น้อยกว่า    6        หน่วยกิต

  ระบบการศึกษา
 

         ระบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งเป็น 2 ภาคเรียน คือ ภาคเรียนต้นและภาคเรียนปลาย ภาคเรียนละ 18 สัปดาห์

.

ระยะเวลาการศึกษา

 

       4 ปี และไม่เกิน 8 ปี

   

 

เงื่อนไขการสําเร็จการศึกษา

 
  • เรียนครบตามโครงสร้างหลักสูตร
  • สอบผ่านทักษะสากลทางคอมพิวเตอร์
  • มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม ไม่น้อยกว่า 2.00
  • ไม่ได้อยู่ระหว่างการรับโทษทางวินัย

 

วันที่ปรับปรุงเพื่อเผยแพร่

 

       พฤษภาคม 2563


 
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชา Click Here
รายละเอียดของหลักสูตร (ฉบับย่อ) <<สำหรับนิสิตปัจจุบันและผู้ปกครอง>> Click Here
ข้อกำหนดของหลักสูตร ฉบับเต็ม <<สำหรับอาจารย์ผประจำหลักสูตร>> Click Here


      
      

เส้นทางของรายวิชา หลักสุตรปรับปรุง พ.ศ.2560 Click Here
การเปิดรายวิชาเลือกสำหรับนิสิตชั้นปีที่ 3 (รหัส 61)  Click_Here
แผ่นพับหลักสูตร ปีการศึกษา 2563 Click Here